รายงานข่าวจากสมาคมรถตู้โดยสารสาธารณะ กรุงเทพฯ ปริมณฑล แจ้งว่า วันที่ 2 พ.ย. นี้ เวลา 09.00 น. นายปัญญา เลิศหงิม นายกสมาคมรถตู้โดยสารสาธารณะ กรุงเทพฯ ปริมณฑล พร้อมด้วยนางรุ่งเรือง ทองคำ เลขาธิการสมาคมธุรกิจรถตู้ต่างจังหวัด นายบรรยงค์ อัมพรตระกูล ประธานสหพันธ์รถเมล์ กทมคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง. และปริมณฑล และผู้ประกอบการรถตู้ รถมินิบัส รถเมล์ รถโดยสาร และรถสองแถวทั่วประเทศ จะนำรถโดยสารสาธารณะทุกประเภท ประมาณ 500-600 คัน ไปที่กระทรวงพลังงาน เพื่อกดดันขอเข้าพบนายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.พลังงาน เพื่อขอให้มีมาตรการช่วยเหลือราคาก๊าซธรรมชาติอัดสำหรับยานยนต์ (เอ็นจีวี) สำหรับกลุ่มรถโดยสารสาธารณะ
เนื่องจากตั้งแต่มีการใช้ก๊าซเอ็นจีวี ในประเทศไทยประมาณปี 2548 เป็นต้นมา ในทุกครั้งที่มีมาตรการให้ส่วนลดราคาขายปลีกก๊าซเอ็นจีวี สำหรับรถโดยสารสาธารณะทุกประเภท ได้แก่ รถโดยสารประจำทาง รถแท็กซี่ รถตุ๊กๆ รถตู้ รถมินิบัส และรถสองแถว จะได้รับส่วนลดในอัตราเดียวกันมาโดยตลอด จนมาตรการช่วยเหลือที่เริ่มตั้งแต่ปี 2554 สิ้นสุดลง หลังจากนั้นเกิดการระบาดโควิด-19 รุนแรงมากขึ้นในช่วงต้นปี 2563 คณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน ซึ่งมี รมว.พลังงาน เป็นประธาน ทราบความเดือดร้อนของกลุ่มผู้ประกอบการรถสาธารณะที่มีจำนวนผู้โดยสารใช้บริการลดลงอย่างมาก จึงเห็นชอบให้ปรับราคาขายปลีกก๊าซเอ็นจีวี สำหรับรถโดยสารสาธารณะทั้งหมด ประกอบด้วย รถโดยสารประจำทาง รถแท็กซี่ รถตุ๊กๆ รถตู้ รถมินิบัส และรถสองแถว ลดลง 3 บาทต่อกิโลกรัม (กก.) เป็นเวลา 4 เดือน ตั้งแต่ 1 เม.ย.-31 ก.ค. 2563 หลังจากนั้นไม่ได้ขยายระยะเวลาช่วยเหลือต่อ
จนกระทั่งรถแท็กซี่นำรถมาจอดปิดกระทรวงพลังงาน ช่วงเดือน ส.ค.-ก.ย. 2564 เริ่มช่วยเหลือด้วยโครงการเอ็นจีวี เพื่อลมหายใจเดียวกัน สำหรับรถแท็กซี่ในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล โดยลดราคาค่าก๊าซเอ็นจีวีเหลือ 13.62 บาทต่อ กก. จากเดิมที่มีราคา 15.59 บาทต่อ กก. ตั้งแต่ 1 พ.ย. 64 และต่อมาตรการช่วยเหลือมาโดยตลอดจนถึง 30 มิ.ย. 2566 โดยไม่มีการช่วยเหลือรถโดยสารสาธารณะอื่น ซึ่งได้รับความเดือดร้อนอย่างมากเช่นกัน การดำเนินการในลักษณะดังกล่าว ส่งผลให้รถโดยสารสาธารณะประเภทอื่นๆ ยังประสบความเดือดร้อนอย่างมาก ในราคาก๊าซเอ็นจีวีที่มีราคาสูงอย่างต่อเนื่อง จนผู้ประกอบการบางรายต้องเลิกอาชีพหรือเลิกกิจการ ส่งผลให้ประชาชนไม่สามารถใช้บริการรถสาธารณะในบางเส้นทางได้แล้ว
ปัจจุบันผู้ประกอบการรถสาธารณะได้รับผลกระทบจากโควิด-19 ยังไม่ฟื้นตัว และรายได้ยังต่ำกว่าช่วงก่อนเกิดโควิด-19 ผู้ประกอบการบางรายยังไม่เลิกกิจการต้องประคับประคองธุรกิจอยู่รอด แต่ต้องเจอปัญหาภาระหนี้สินเพิ่มสูงขึ้น ทั้งนี้ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) มีมาตรการให้ทำบัตรสิทธิประโยชน์ กลุ่มรถโดยสารสาธารณะ แบ่งเป็นรถแท็กซี่ และรถโดยสารสาธารณะที่เหลือทั้งหมด โดยให้รถแท็กซี่ได้รับการตรึงราคาก๊าซเอ็นจีวีที่ 14.62 บาทต่อ กก. และให้รถโดยสารสาธารณะที่เหลือทั้งหมด ประกอบด้วย รถโดยสารประจำทางขนาดใหญ่ รถตู้โดยสาร รถมินิบัส รถไมโครบัส และรถสองแถว ได้รับการตรึงราคาก๊าซเอ็นจีวีที่ 18.59 บาทต่อ กก. มาตรการดังกล่าวจะสิ้นสุดลง 31 ธ.ค. 2566
ผู้ประกอบการรถโดยสารสาธารณะทุกประเภทเห็นว่า การออกมาตรการช่วยเหลือโดยให้กลุ่มรถแท็กซี่และกลุ่มรถโดยสารสาธารณะอื่นๆ ที่ได้รับมาตรการช่วยเหลือที่ไม่เท่ากัน เป็นการดำเนินการที่ไม่สมควรอย่างยิ่ง เนื่องจากรถโดยสารประจำทางต้องแบกรับภาระค่าเชื้อเพลิงมากกว่าแท็กซี่ เพราะต้องเดินรถตามเส้นทาง ไม่ว่าจะมีผู้โดยสารหรือไม่ ที่สำคัญรถโดยสารประจำทาง มีค่าโดยสารต่ำกว่าแท็กซี่ และมีความจำเป็นสำหรับการเดินทางของประชาชน รวมไปถึงมีผู้โดยสารน้อย
ดังนั้น ผู้ประกอบการรถโดยสารสาธารณะจึงขอเข้าพบเพื่อหารือใน 5 ข้อดังนี้ 1.ชี้แจงเกี่ยวกับความเดือดร้อนของผู้ประกอบการ 2.ขอให้มีมาตรการช่วยเหลือราคาก๊าซเอ็นจีวี สำหรับกลุ่มรถโดยสารสาธารณะทุกประเภทอย่างเหมาะสม เพื่อให้สอดคล้องกับต้นทุนเดินรถที่แท้จริง เนื่องจากปัจจุบันต้องจ่ายค่าก๊าซเอ็นจีวีอยู่ที่ 19.59 บาทต่อ กก. จึงขอให้ปรับลดเหลือ 13-14 บาทต่อ กก. หรือลด 5-6 บาทต่อ กก. 3.ชี้แจงปัญหาเกี่ยวกับการกำหนดปริมาณก๊าซเอ็นจีวีที่สามารถได้รับการตรึงราคาสำหรับรถแต่ละประเภท 4.ชี้แจงปัญหาการได้รับบัตรสิทธิประโยชน์ล่าช้า และขอให้มีระยะเวลาของมาตรการช่วยเหลือถึงเดือน ธ.ค. 2567 และ 5.ชี้แจงประเด็นปัญหาเกี่ยวกับกรณีที่ไม่สามารถเพิ่มเติมรถที่จะได้รับสิทธิประโยชน์ในภายหลังได้